เข้าใจภูมิแพ้ผิวหนัง
หากพูดถึงอาการแพ้ หนึ่งในโรคที่พบมาก คือ โรคภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังทำให้มีการแพ้ออกมาทางผิวหนัง มักมีอาการคันมาก ผิวหนังแห้งอักเสบ และมีการกำเริบเป็นระยะ ๆ ซึ่งหากใส่ใจรู้เท่าทันและสังเกตได้ด้วยตนเอง ย่อมช่วยบรรเทาความรุนแรงและรักษาได้อย่างถูกวิธี
รู้จักเข้าใจโรค
โรคภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) เป็นโรคที่เกิดจากผิวหนังอักเสบเรื้อรังจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ ที่มาจากร่างกายไวต่อการตอบสนองกับปัจจัยกระตุ้นต่าง ๆ สามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย และอาจมีอาการภูมิแพ้ อื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น หอบหืด แพ้อากาศเยื่อบุตาอักเสบ เป็นต้น โดยจะเป็นในลักษณะเป็น ๆ หาย ๆ นอกจากนี้พันธุกรรมก็มีส่วนทำให้เกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
CHECKLIST ความแพ้
- คันมาก คันเรือรัง
- ผิวหนังค่อนข้างแห้งหรือแห้งมาก
- ผื่นผิวหนังอักเสบ อาจมีอาการในระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง หากเป็นแบบเฉียบพลันจะ เห่อแดงคัน มีตุ่มน้ำใส ๆ เล็ก ๆ น้ำเหลืองเยิ้มซึม อาจติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังร่วมด้วย แต่ถ้าเป็นระยะรองเฉียบพลัน จะมีขุยแห้งหรือสะเก็ด หรือมีผืนแบบเรื้อรังเป็นปืนนูนหนา คันและมีขุย ร่วมด้วยการหนาตัวของผิวหนังจากการถูไถหรือเกา
- ตำแหน่งของโรคจะแตกต่างตามวัย ส่วนมากผู้ป่วยเด็กจะมีอาการก่อนอายุ 5 ปี ถ้าเป็นวัยทารกมักพบ ผืนแดงบริเวณแก้ม ด้านนอกของแขนขา ข้อมือและข้อเท้า ส่วนวัยเด็กโตและผู้ใหญ่จะพบผืนบริเวณข้อพับ ต่าง ๆ เช่น ข้อพับแขนขาทั้งสองข้าง คอ บางครั้งเกาจนเป็นปืนมีขุยดำหรือแห้งหนา ถ้าเป็นมากผืนอาจลามขึ้นทั่วร่างกาย
รักษาให้ถูกวิธี
การรักษาโรคภูมิแพ้ผิวหนังควรพบแพทย์ทันที เพื่อทำการรักษาตามระยะและความรุนแรงของโรค แพทย์มักจะเริ่มจากการให้หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และตัวกระตุ้น ทาสารเพิ่มความชุ่มชื้นผิวหนัง ควบคุมอาการคันและอักเสบเฉียบพลันโดยใช้ยาทา มักเป็นยาทากลุ่มสเตียรอยด์ หรืออาจให้กินยาต้านฮิสตามีน เพื่อลดอาการคัน หากมีหนองอาจติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะ แต่หากผิวหนังอักเสบเรื้อรังรุนแรงมาก แพทย์อาจให้กินยาสเตียรอยด์หรือยากดภูมิ นอกจากนี้ยังมีแนวทางการรักษารูปแบบต่าง ๆ เช่น ฉายแสงอัลตราไวโอเลต (UV Phototherapy) ซึ่งผู้มีอาการภูมิแพ้ผิวหนังควรไปปรึกษาแพทย์ เฉพาะทางโรคผิวหนังเพื่อพิจารณาการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย
ป้องกันภูมิแพ้ผิวหนัง
- ล้างมือให้บ่อย
- ตัดเล็บให้สั้นและหลีกเลี่ยงการเกา เพราะอาจเกาจนเกิดแผล หรือแผลติดเชื้อร่วมด้วยได้
- อาบน้ำให้สะอาด ใช้สบู่อ่อน ๆ ที่ไม่มีน้ำหอมและไม่มีสารกันเสีย
- ทาโลชันหลังอาบน้ำเพื่อให้ผิวชุ่มชื้น
- เลี่ยงการใส่เสื้อผ้ารัดเกินไป เนื้อหยาบหนา หรือผ้าขนสัตว์ เพราะอาจเกิดการระคายเคืองต่อผิว
- เลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นเยอะ ยุงและแมลงชุกชุม
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด กินอาหารที่มีประโยชน์ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
สสส./ SOOK Magazine
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
แพทย์ผิวหนังแนะนำโรคพยาธิหอยคัน ผิวหนังอักเสบแต่ไม่อันตรายถึงชีวิต
แนะนำโรคพยาธิหอยคัน หลังระบาดในภาคใต้ ไม่ใช่โรคติดต่อจากคนสู่คน...
-
โรคลมพิษ หนึ่งในโรคยอดฮิตที่กวนใจ
โรคลมพิษเป็นโรคหนึ่งที่คนในสังคมรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าโรคลมพิษสามารถแบ่งออกได้...
-
สะเก็ดเงิน เป็นมากกว่าโรคทางผิวหนัง
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคที่มีอาการอักเสบเรื้อรังของผิวหนัง...
-
แพ้ครีมบำรุงผิว โรคผิวหนังที่ป้องกันได้
อาการแพ้ครีมบำรุงผิวหน้าและผิวกาย อาจเกิดขึ้นได้ถ้าใช้ไม่เหมาะกับสภาพผิว...
-
8 เคล็ดลับช่วยดูแลผิวพรรณไม่ให้เกิดอาการคัน (itching)
มีวิธีไหนบ้างที่จะช่วยกำจัดความคันไปจากผิวพรรณอันงดงามของ เรา...
-
โรคผื่นกุหลาบ โรคผิวหนังที่พบบ่อยในหน้าฝน
โรคผื่นกุหลาบ โรคผิวหนังที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน...