เตือน คนติดหวานแม้ดื่มสูตรน้ำตาล 0% เสี่ยงอ้วน
เตือน ผู้ที่ชอบดื่มน้ำหวาน และน้ำอัดลมทั้งแบบธรรมดาหรือสูตรไม่มีน้ำตาล ในปริมาณมากและเป็นประจำ เสี่ยงโรคอ้วน แนะควบคุมปริมาณ สั่งหวานน้อย
ช่วงนี้อากาศร้อนขึ้นทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เลือกดื่มน้ำหวานและน้ำอัดลมเพื่อดับกระหาย ซึ่งในน้ำอัดลม จะมีส่วนประกอบ คือ น้ำ น้ำตาล สารปรุงสี กลิ่นสังเคราะห์และกรดฟอสฟอริก ทำให้น้ำอัดลมมีฟอง มีรสซ่า และมีคาเฟอีนเพิ่มความตื่นตัวให้กับร่างกาย ลดอาการอ่อนเพลีย หากดื่มน้ำหวานและน้ำอัดลมที่มีน้ำตาลอยู่สูง ในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ร่างกายเผาผลาญและนำไปใช้ได้ไม่หมด เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้อ้วน นอกจากนี้น้ำตาลในเครื่องดื่มเหล่านี้ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินออกมามากเกินไป ส่งผลให้ในระยะยาวร่างกายจะผลิตอินซูลินน้อยลงหรือด้อยประสิทธิภาพ จนทำให้เกิดโรคเบาหวานและโรคไม่ติดต่อเรื้อรังตามมา
ในขณะที่น้ำอัดลมสูตรไม่มีน้ำตาลจะมีส่วนประกอบเหมือนน้ำอัดลมสูตรปกติ แต่จะใช้สารให้ความหวานหรือน้ำตาลเทียมทดแทนลงไป ซึ่งสารประเภทนี้ให้รสหวาน แต่ไม่ให้พลังงาน สารให้ความหวานเหล่านี้จะกระตุ้นกลไกการทำงานของสมองให้รับรู้ถึงความหวาน ส่งผลให้ร่างกายโหยหาน้ำตาล มากขึ้น เกิดการติดรสหวาน ต้องการกินอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มรสหวานบ่อยขึ้น ร่างกายหิวง่ายขึ้นและกินมากกว่าปกติ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะเป็นการกินไปแบบไม่รู้ตัว จึงควรกินหวานให้น้อยลงหรือสั่งหวานน้อยเป็นประจำให้ติดเป็นนิสัย เพื่อสร้างความเคยชินในการรับรสของตนเองและกลายเป็นคนไม่ติดหวาน
เมื่อดื่มน้ำอัดลมสูตรที่ใส่น้ำตาลเทียม ร่วมกับอาหาร จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดขึ้นสูงกว่าการกินอาหารกับน้ำเปล่า แม้น้ำตาลเทียมจะไม่ใช่น้ำตาลแต่ก็กระตุ้นการตอบสนองของอินซูลินในร่างกาย อีกทั้งการใช้น้ำตาลเทียมนั้น ยังทำหน้าที่หลอกลิ้นว่าหวาน แต่สมองที่ต้องการน้ำตาลจริงไม่ได้รับความหวานตามที่ต้องการ ก็เกิดการกระตุ้นทำให้อยากกินน้ำตาลมากๆ เพื่อให้หายอยากในภายหลังซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อ้วน นอกจากนี้ แม้น้ำอัดลมจะมีสูตรไม่มีน้ำตาล โดยใส่น้ำตาลเทียมทดแทนลงไป แต่สิ่งที่ยังมีอยู่ในน้ำอัดลมคือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ทำให้ท้องอืด จุกเสียดได้
กรมอนามัย
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
แนะช่วง Work From Home เน้นกินแต่พออิ่ม ถูกหลักโภชนาการ
แนะผู้ที่ทำงานอยู่ที่บ้าน เน้นกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการในสัดส่วนที่เหมาะสม...
-
น้ำหนักตัวน้อย ใครว่าดีเสมอไป
ถึงไม่อ้วนแถมน้ำหนักตัวน้อย ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป เพราะคุณอาจกำลังอยู่ใน.....
-
ปี 64 ยอดผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น แนะเสริมอาหารครบ 5 หมู่
ความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และอาจ เป็นภาระลูกหลานในที่สุด...
-
เด็กไทยอ้วนเพิ่ม เร่งส่งเสริม เพิ่มกิจกรรมทางกาย
พบเด็กอ้วนสูงกว่าค่าเป้าหมายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด คือไม่เกินร้อยละ 10...
-
อ้วนลงพุงสัมพันธ์ความดันสูง
อ้วนลงพุง และความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่พบร่วมกันบ่อย และต่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก...
-
นอนดึก เสี่ยงทำให้อ้วน
‘การนอนดึก’ ก็เป็นปัจจัยทำให้น้ำหนักพุ่งได้เช่นกัน แถมยังส่งผลต่อความสูงของเราอีกด้วย...