แจ้งเตือนข่าวปลอม หน้ากากอนามัยผ้าสปันบอนด์ เป็นไมโครพลาสติก สูดดมอาจเสี่ยงมะเร็ง
ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง “หน้ากากอนามัยผ้าสปันบอนด์ เป็นไมโครพลาสติก สูดดมอาจเสี่ยงมะเร็ง” กรมการแพทย์ โดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่า ประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ
ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลหน้ากากอนามัยผ้าสปันบอนด์ ที่เกิดจากเส้นใยสังเคราะห์ของโพลิเมอร์ ที่เป็น “Polypropylene (PP) นั้นซึ่งมีกลิ่นฉุน แตกยุ่ยได้ง่าย จะก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เรียกว่าไมโครพลาสติก หากสูดดมเข้าไปในร่างกาย มีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า หน้ากากอนามัยผลิตจากใยสังเคราะห์ประเภทเดียวกันกับผ้าสปันบอนด์ ซึ่งทำมาจากพลาสติกกลุ่ม Polypropylene จากรายงานขององค์การวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer; IARC) ระบุว่าพลาสติกกลุ่ม Polypropylene ไม่จัดเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ หรืออยู่ในกลุ่ม 3 ดังนั้น ปัจจุบันการใช้หน้ากากอนามัยที่ทำมาจากผ้าสปันบอนด์ จึงยังไม่มีข้อมูลว่าทำให้เกิดโรคมะเร็ง
พลาสติกกลุ่ม Polypropylene ที่นำมาใช้ผลิตผ้าสปันบอนด์ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายเร็วกว่าพลาสติกทั่วไปทำให้เกิดความกังวลว่าพลาสติกชนิดนี้จะย่อยสลายเป็นไมโครพลาสติกแล้วปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังไม่มีรายงานทางวิชาการที่ยืนยันแน่ชัดถึงไมโครพลาสติกกลุ่ม Polypropylene ที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อมแล้วก่อให้เกิดโรคมะเร็งในมนุษย์ ดังนั้นจึงไม่ควรตื่นตระหนกเกี่ยวกับการใช้หน้ากากอนามัยจากใยสังเคราะห์สปันบอนด์
กรมการแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
-
ข่าวจริง อาการไอเรื้อรัง เสี่ยงเป็นวัณโรคปอด และมะเร็งปอด
ข้อเท็จจริงพบว่า อาการไอเรื้อรังเป็นหนึ่งในสัญญาณเตือนมะเร็งปอด...
-
มะเร็งในเด็ก สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของเด็กและวัยรุ่น
เพื่อการตรวจรักษาที่ทันท่วงที เพิ่มโอกาสในการรักษาหายมากขึ้น...
-
เตือนฝุ่น PM 2.5 ภัยร้ายต่อสุขภาพ
เตือนฝุ่นละออง PM 2.5 หากได้รับปริมาณมากอาจ ส่งผลกระทบต่อกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกาย...
-
6 ขั้นตอน ทิ้งหน้ากากอนามัยให้ถูกวิธี
ต้องทิ้งให้ถูกวิธีและถูกที่เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่เก็บขยะหรือคนทั่วไป...
-
แจ้งเตือนข่าวปลอม เล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืดเป็นเวลานาน เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตา
ข้อเท็จจริงพบว่า การเล่นโทรศัพท์มือถือในที่มืดเป็นเวลานานไม่ได้เสี่ยงให้เกิดโรคมะเร็งตาแต่อย่างใด...
-
แจ้งเตือนข่าวปลอม เอื้องหมายนาช่วยรักษาโรคมะเร็ง
ข้อเท็จจริง พบว่า เอื้องหมายนาไม่สามารถนำมาใช้เป็นยารักษามะเร็งในคนได้...